ขั้นตอนการขอรับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์
1. ยื่นคำขอ (มฐฟ.1) ที่สนง.ปศุสัตว์อำเภอ
2. ปศุสัตว์อำเภอตรวจพื้นฐาน 5 ประการ ส่งให้สนง.ปศุสัตว์จังหวัด
3. สนง.ปศุสัตว์จังหวัดรวบรวมเอกสารจัดทำแผนนัดหมายตรวจรับรอง
4. คณะผู้ตรวจ ประกอบด้วย จนท.จากสนง.ปศุสัตว์จังหวัดและเจ้าหน้าที่จากสนง.ปศุสัตว์อำเภอ ร่วมกันตรวจรับรอง
5. กรณีไม่ผ่านการรับรอง ผู้ประกอบการต้องแก้ไขข้อบกพร่องตามคำแนะนำของคณะกรรมการผู้ตรวจฯ
6. กรณีผ่านการรับรอง สนง.ปศุสัตว์จังหวัดจะออกใบรับรองให้ลงนามโดยปศุสัตว์จังหวัด
7. ใบรับรองมาตรฐานฟาร์มมีอายุ 3 ปี
เอกสารหลักฐานประกอบคำขอ
1. แบบคำรับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ (แบบ มฐฟ. 1)
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ 1 ฉบับ (เจ้าของฟาร์ม)
3. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ
4. แผนที่ตั้งฟาร์มเลี้ยงสัตว์
5. รูปถ่ายแสดงสภาพภายในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งสิ่งก่อสร้าง เช่น รั้ว โรงพ่นยาฆ่าเชื้อโรค บ่อน้ำ สถานที่เก็บอาหารสัตว์ คอกสัตว์ ที่พักอาศัยและระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย
6. ในกรณีขอต่ออายุมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ การรับรองต้องแนบใบรับรองมาตรฐานฉบับเดิมที่หมดอายุ
คำแนะนำในการขอรับรองมาตรฐานฟาร์ม
จุดประสงค์ของมาตรฐานฟาร์ม
1. ป้องกันความเสียหายจากการนำเชื้อโรคภายนอกเข้าสู่ฟาร์ม
2. ป้องกันเชื้อโรคจากภายในฟาร์มแพร่กระจายสู่ภายนอก
3. สร้างเสริมภูมิคุ้มโรค และสุขภาพที่ดีให้แก่สัตว์ภายในฟาร์ม
4. ให้ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ได้อย่างยั่งยืน ลดค่าใช้จ่ายจากการใช้ยาเกินความจำเป็น ไม่ให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม และส่งผลกระทบต่อผู้ที่อาศัยอยู่รอบข้าง จนถูกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นบังคับให้เลิกกิจการ หรือถูกร้องเรียนและขับไล่
5. ฝึกนิสัยผู้ประกอบการให้รู้จักรับผิดชอบทั้งต่อการเลี้ยงสัตว์ สังคม สิ่งแวดล้อม และฝึกวินัยให้รู้จักดูแลสัตว์อย่างสม่ำเสมอ จดบันทึกเป็นประจำ ดูแลอุปกรณ์ทุกชิ้นให้สะอาด และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และมีจิตใจเมตตาต่อสัตว์
สำรวจตนเอง
1. สมัครใจทำ เนื่องจากอยากพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ให้สูงขึ้น
2. ฝืนใจทำ เนื่องจากถูกบริษัทบังคับ หรือถูกบังคับจากเกณฑ์การนำสัตว์ปีกเข้าเลี้ยงใหม่
- อันนี้พึงระวัง เนื่องจากการจะจัดสร้างสิ่งปลูกสร้าง เช่น ห้องอาบน้ำ เพื่อเพียงให้ผ่านการรับรอง และจะกลายเป็นอนุสาวรีย์ เนื่องจากไม่มีการใช้งานจริง การจดบันทึกต่าง ๆ ก็จะถูกละเลย จะมีการบันทึกอีกก็ต่อเมื่อมีการต่ออายุ และผู้จดบันทึกก็คือ สัตวบาลของบริษัทที่ดูแลฟาร์มนั้น ๆ
3. ผ่านการอบรมผู้ประกอบการมาตรฐานฟาร์มหรือยัง ผ่านแล้วจะได้ใบประกาศนียบัตร ถ้ายังไม่ผ่านการอบรม หรือ ใบประกาศฯ หาย ให้ติดต่อที่ สำนักงานปศุสัตว์เขต 9 โทร 074324406 และ 074321330
ศึกษาข้อมูล
1. กรณีมีฟาร์มอยู่แล้ว ให้ศึกษาจากคู่มือว่าสามารถปรับปรุงโครงสร้างตามนั้นหรือไม่ โดยเฉพาะ ที่อยู่อาศัยภายในฟาร์ม ห้องอาบน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
2. กรณีเป็นฟาร์มใหม่ หากเป็นฟาร์มบริษัทเบทาโกร สัตวบาลเป็นที่ปรึกษาได้ หากบริษัทอื่นหรือเอกเทศให้ปรึกษาสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสงขลา 074311598
3. หากทำไม่ได้ไม่ควรฝืนยื่น ไม่ผ่านแน่นอน
สิ่งที่จำเป็น
1. สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม
2. ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (อภ.2) ขอได้จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ ขอใบอนุญาตให้เลี้ยงสัตว์จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาษีโรงเรือนหรือที่ดิน
3. ใบตรวจสุขภาพประจำปี(เฉพาะผู้ประกอบการ) บุคคลอื่นใช้ ใบรับรองแพทย์
4. ใบผลการตรวจน้ำที่ใช้สำหรับให้สัตว์ดื่ม หากไม่ผ่านเกณฑ์ ให้แนบวิธีแก้ไข
การยื่นขอใบรับรอง
1. ขอแบบ มฐฟ.1 จากปศุสัตว์อำเภอ หรือดาวน์โหลดได้ที่ www.dld.go.th/pvlo_sgkกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ถูกต้อง แนบเอกสารที่กำหนดไว้ใน มฐฟ.1
2. นัดปศุสัตว์อำเภอตรวจฟาร์มเบื้องต้น เพื่อขอใบผ่านเกณฑ์พื้นฐาน 5 ประการ และให้ปศุสัตว์อำเภอนำเอกสารไปยื่นที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด
เกณฑ์การตรวจ
1. ประตู จะต้องปิดและคล้องกุญแจ ติดข้อความ”ห้ามเข้าก่อนได้รับอนุญาต” จะต้องแข็งแรง สูง 1.5 เมตรอย่างน้อยมีตาข่ายขึงกั้นสูง 1.2 เมตร เพื่อป้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง และสัตว์พาหะเข้าไปภายนอกในฟาร์ม จะต้องไม่ใช้ทางเข้าร่วมกับฟาร์มอื่น หรือ ผ่านทางเข้าของฟาร์มอื่น
2. รั้วสูง 1.5 เมตร มีตาข่ายสูง 1.2 เมตร เพื่อกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง และสัตว์พาหะมุดหรือกระโดดเข้าไปภายในฟาร์ม ตัดต้นไม้ริมรั้ว และที่พันรั้วออกให้หมด
3. ห้องอาบน้ำยาฆ่าเชื้อโรคสำหรับบุคคล ห้องอาบน้ำจะต้องมีห้องสำหรับถอดเสื้อผ้าเก็บ(จัดให้มีไม้แขวนเสื้อหรือช่องเก็บเสื้อผ้า) ห้องอาบน้ำยาฆ่าเชื้อโรค(มีเสปรย์พ่นทั้งด้านข้างและด้านบน) ห้องอาบน้ำ(จัดให้มีฝักบัว สบู่ แชมพู) ผู้ที่มาส่งอาหาร จับลูกไก่ จะต้องทำการฆ่าเชื้อโรคในห้องนี้ด้วย ไม่มีข้อยกเว้น
4. โรงพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคยานพาหนะ จะต้องพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่ล้อรถทุกคันที่เข้าไปในฟาร์ม ไม่มีข้อยกเว้น
5. ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า จัดให้มีผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้าที่ใช้ในฟาร์ม นอกห้องจัดให้มีร้องเท้าใส่ในฟาร์ม
6. เสปรย์พ่นยานพาหนะที่เข้า-ออกฟาร์ม
7. ห้องเก็บอาหารจะต้องมีช่องให้อากาศถ่ายเท มีแสลตสูง 10 ซม. เพียงพอสำหรับวางอาหาร ไม่ควรมีมดในโรงเก็บอาหาร จะต้องมีตาข่ายกันนก หนู เข้ามาข้างใน ไม่ควรนำอุปกรณ์มาเก็บ อุปกรณ์อื่นจะต้องนำไปเก็บไว้ที่ห้องเก็บอุปกรณ์ ประตูจะต้องปิดและคล้องกุญแจ
8. จะต้องแยกที่อยู่อาศัยและฟาร์มออกจากกัน ไม่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าในฟาร์ม ทุกกรณี
9. หากมีหลายโรงเรือน ควรห่างกัน 25 เมตร เพื่อป้องกันโรคระบาดในแต่ละโรงเรือน
1.รั้วต้องไม่ใช้ร่วมกับฟาร์มอื่นที่เลี้ยงสัตว์ชนิดเดียวกัน
2.โรงเรือน จะต้องเปิดไฟ ตามสวัสดิภาพสัตว์ ห้ามปิดเมื่อสัตว์ใกล้เวลาขาย และห้ามเปิดขณะไม่มีแดด ให้เปิดเฉพาะช่วงลูกไก่เข้าเลี้ยงใหม่เท่านั้น จะต้องมีตาข่ายกันนกเข้าไปในโรงเรือน จัดให้มีรองเท้า บ่อจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อโรค บ่อจุ่มน้ำ ถังหิ้วซาก กรณีปลูกต้นไม้รอบโรงเรือน จะต้องตัดกิ่งไม้ที่ยื่นล้ำเข้าไปที่หลังคาโรงเรือน
3.มีบ่อทิ้งซากหรือเตาเผาซากท้ายฟาร์ม ห่างจากโรงเรือนมากกว่า 5 เมตร ห้ามอยู่นอกรั้วฟาร์ม
4.บริเวณฟาร์ม ต้องเก็บไม้ เหล็ก ตัดต้นไม้ หญ้า ให้ดูสะอาด ไม่รก จัดให้มีถังขยะฝาปิด 2 ใบ เพื่อทิ้งขยะอันตราย เช่น ยา เข็มฉีดยา และถังสำหรับทิ้งขยะทั่วไป
5.เครื่องกำเนิดไฟฟ้า จะต้องใช้งานได้และทดสอบการใช้งานสัปดาห์ละ 1 ครั้ง มีสัญญาณเตือนเมื่อไฟดับ
6.จัดให้มีแผนกำจัดสัตว์พาหะเช่น หนู และบันทึกผล
7.กำจัดขยะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน กำจัดแหล่งน้ำที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง จะต้องไม่มีขยะสุมภายในฟาร์ม
8.กรณีฟาร์มสุกร ท่อน้ำเสียข้างฟาร์มจะต้องไม่มีน้ำท่วมขัง มูลสุกรจะต้องไหลได้สะดวกไม่สะสม
9.การกำจัดมูลสุกรในฟาร์ม ควรจะตักมูลออกก่อนแล้วจึงฉีดน้ำ เพื่อลดจำนวนน้ำเข้าในระบบบำบัด และลดค่าไฟฟ้าที่ใช้ในการฉีดน้ำเกินความจำเป็น
10.ยาที่ใช้ในฟาร์ม ต้องมีทะเบียนยา ไม่มีข้อยกเว้น
11.ไม่ควรมีกิจกรรมอื่นภายในฟาร์ม เช่น กรีดยาง ประมง
12.ไม่ควรมีทางเข้าออกฟาร์ม มากกว่า 1 ทาง
13.ไม่ควรมีการประกอบอาหารภายในฟาร์ม ควรประกอบอาหารให้เสร็จจากภายนอกแล้วนำเข้าไปรับประทานในฟาร์ม
การจัดทำข้อมูล
1. จัดทำคู่มือการเลี้ยงสัตว์ให้ครบทุกหัวข้อ ตามความเป็นจริงที่ฟาร์มทำอยู่
2. บันทึกข้อมูลตามแบบฟอร์ม หาได้จาก website สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสงขลา ให้ตรงกับความเป็นจริง และเป็นปัจจุบัน
3. บุคลากรที่เกี่ยวข้องลงนามให้ครบ
4. ยาที่ไม่มีการนำมาใช้ ไม่ควรมีในบันทึกการใช้ยา วิตามินละลายน้ำ ยาฆ่าเชื้อ ยาใส่แผล ไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
5. บันทึกบุคลากร จะต้องมีให้ครบทุกคน