การขออนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์/ซากสัตว์

การเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1.   การเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ภายในราชอาณาจักร

2.   การเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ระหว่างประเทศ

 จากข้อมูลการเกิดโรคระบาดที่ผ่านมาปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่ทำให้โรคระบาดแพร่ไปได้อย่างรวดเร็ว คือ การเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ ที่เป็นพาหะของโรคระบาดจากท้องที่หนึ่ง ไปยังอีกท้องที่หนึ่ง นอกจากนี้การนำสัตว์และซากสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และมาเลเซีย เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาด ของโรคได้ ตัวอย่างเช่น โรครินเดอร์เปสต์ซึ่งได้ถูกกำจัดให้หมดไป ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499 แล้ว กาฬโรคสัตว์ปีก (Fowl Plaque) ซึ่งไม่เคยมี รายงานการระบาดในประเทศไทยโรคแอนแทรกซ์ สามารถติดต่อถึงคนได้

โรคระบาดสัตว์ที่สำคัญตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ได้แก่

 

1. กาฬโรคเป็ด
2. กาฬโรคแอฟริกาในม้า
3. โรคไข้หวัดนก
4. โรคไข้หวัดใหญ่ม้า (เหตุไวรัสไทป์เอ)
5. โรคไข้เห็บม้า
6. โรคเคเอชวี
7. โรคเครฟิชเพลก
8. โรคเซปทิซีเมียคิวทาเนียสอัลเซอเรทิฟ
9. โรคแซลโมเนลลา
10.โรคดูรีน
11.โรคตัวแดงดวงขาว
12.โรคทริคิเนลลา
13.โรคทีเอส
14.โรคเททระฮีดรัลแบคูโลไวรัส
15.โรคนิวคาสเซิล
16.โรคโนดาไวรัส
17.โรคบรูเซลลา
18.โรคบีเคดี
19.โรคโบนาเมีย
20.โรคปากอักเสบพุพอง
21.โรคฝีดาษจระเข้
22.โรคฝีดาษม้า
23.โรคสุนัขบ้า
24.โรคเพอร์คินซัส
25.โรคโพรงจมูกและปอดอักเสบในม้า
26.โรคมดลูกอักเสบติดต่อในม้า 
27.โรคมาร์ทีเลีย
28.โรคไมโครไซทอส
29.โรคเรื้อนม้า
30.โรคเลปโทสไปรา
31.โรคโลหิตจางติดเชื้อในม้า
32.โรควัวบ้า
33.โรควีเอชเอส
34.โรคสเตรปโทคอกคัสในสัตว์น้ำ
35.โรคสมองและไขสันหลังอักเสบในม้า
36.โรคสมองและไขสันหลังอักเสบเวเนซูเอลาในม้า
37.โรคสมองอักเสบญี่ปุ่น
38.โรคสมองอักเสบนิปาห์
39.โรคหลอดเลือดแดงอักเสบติดเชื้อในม้า
40.โรคหัวเหลือง
41.โรคอาร์เอสไอวี
42.โรคอียูเอส
43.โรคอีเอชเอ็นวี
44.โรคเอชพีวี
45.โรคเอ็มบีวี
46.โรคเอ็มเอสเอกซ์
47.โรคเอสวีซีวี
48.โรคโอเอ็มวี
49.โรคไอริโดไวรัส
50.โรคไอเอชเอชเอ็นวี
51.โรคไอเอชเอ็นวี
52.วัณโรค
 

ซึ่งโรคต่าง ๆ เหล่านี้เป็นผลเสียต่อการพัฒนาปศุสัตว์ของประเทศเป็นอย่างมาก กล่าวคือ

ในปัจจุบันการเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ จะมีกฏหมายและระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ เช่น
•ระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการอนุญาต การตรวจโรคและการทำลายเชื้อโรคในการเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2544
•พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม