แพะนม @ นมแพะ  สงขลา

       บทความ โดย  สิรพงศ์  ศิริรักษ์  นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการ  กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีการปศุสัตว์  สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสงขลา

 

            แม้ว่าการเลี้ยงแพะนมที่ผ่านมาจะได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐอย่างต่อเนื่องแต่ผลผลิตที่ได้จากแพะนม  ไม่ว่าจะเป็นการผลิตนมแพะ  หรือการขยายการผลิตไปสู่เกษตรกรรายใหม่  ยังน้อยอยู่  ปริมาณน้ำนมแพะยังไม่มีจำหน่ายแพร่หลาย  มีจำหน่ายเฉพาะที่ที่มีผู้ที่เข้าใจในคุณค่าและคุณประโยชน์  ใช้ดื่มโดยตรงหรือผสมเครื่องดื่ม    เช่น ชา  กาแฟ  ไอศกรีม  หรือแปรรูปเป็นเครื่องสำอาง

  

      ที่นี้มารู้จักคุณค่าของน้ำนมแพะกันหน่อยนะครับ


 1.นมแพะทุกหยด ลดภูมิแพ้


         เรื่องของนมแพะกับโรคภูมิแพ้มักจะเป็นเรื่องที่พูดถึงกันอยู่เสมอ การดื่มนมแพะเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้โรคภูมิแพ้บรรเทาลงและหายในที่สุด เป็นคำยืนยันของคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ที่หันมาบริโภคนมแพะเป็นประจำแทนการกินยา


2.กลไกการบำบัดโรคของนมแพะ

        ไขมันในนมแพะที่มีบทบาทต่อระบบภูมิต้านทาน คือ กรดไขมันจำเป็นซึ่งได้แก่กรดไขมันลิโนเลอิค ซึ่งในน้ำนมแพะมีสูงถึง 0.95 กรัม/100  กรัม และกรดไขมันจำเป็น แอลฟาลิโนเลอิค (กลุ่มโอเมก้า 3 ซึ่งในนมแพะมี อยู่ประมาณ 0.03 กรัม/ 100 กรัม)  ซึ่งกลุ่มนี้จะเป็นตัวเพิ่มภูมิต้นทานให้แก่ร่างกาย

         นอกจากนี้ยังมี กรดไขมันไม่อิ่มตัวสายโซ่สั้นและกลาง ซึ่งถือว่าเป็นกรดไขมันหลักที่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภค ได้แก่ คาโพรอิค,  คาพรีลิกและคาพริก ซึ่งมีอยู่ในน้ำนมแพะรวมถึง 0.46 กรัม/ 100 กรัม

          อย่างไรก็ตาม ไขมันในน้ำนมแพะยังเป็นตัวลำเลียงวิตามินที่มีส่วนเพิ่มภูมิต้านทานให้แก่ร่างกายอีกด้วย เช่น วิตามินเอ และอี เป็นต้น

         โปรตีนในน้ำนมแพะโดยรวมช่วยในการผลิตและรักษาปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวให้คงที่และช่วยให้เม็ดเลือดขาวทำงานได้อย่างมี
         ประสิทธิภาพ หากมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย จะมีการหลั่งสารแอนตีฮิสตามินออกมา ส่งผลเสริมสร้างภูมิต้านทานต่อการเกิดภูมิแพ้ใน
         ร่างกาย โปรตีนนมโดยเฉพาะซัลเตอีน เป็นองค์ประกอบสำคัญของกลูตาไทโอน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน มี
         รายงานพบว่า การแบ่งเซลล์และประสิทธิภาพในการดักจับสิ่งแปลกปลอมของเม็ดเลือดขาวลิมไพไซด์ จะมีประสิทธิภาพลดลงเมื่อเซลล์
         ขาดสารกลูตาไทโอน


วิตามินในนมแพะมีส่วนช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย เช่น

                  วิตามินเอ ในนมแพะต่างจากนมโค ซึ่งอยู่ในรูปของเบต้าแคโรทีน แต่ในนมแพะจะอยู่ในรูปของวิตามิน เอ โดยตรง ซึ่งจะช่วยเพิ่มการทำงานของเซลล์ที่ดักจับเชื้อโรค ที่เข้าสู่ร่างกายและยังทำหน้าที่เป็นด่านป้องกันเชื้อโรคในส่วนเยื่อบุผนังปาก ปอด และ ลำไส้ ฯลฯ

                วิตามิน บี6 ช่วยเซลล์เม็ดเลือดขาวสร้างแอนติบอดี้

                วิตามิน ซี ป้องกันเซลล์เม็ดเลือดนิวโทรฟิล ซึ่งทำหน้าที่ดักจับเชื้อแบคทีเรียและช่วยกำจัดอนุมูลอิสระในร่างกาย หรือสิ่งสกปรกที่เกิดจากสภาพแวดล้อม สารเคมี และควันบุหรี่

                วิตามิน ดี ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม จากลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด ทำให้กระดูกแข็งแรง และกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้

                วิตามิน อี ช่วยเพิ่มการสร้างแอนติบอดี้ ช่วยสร้างเสริมการทำงานของ ทีเซลล์ ซึ่งทำหน้าที่หลักในการป้องกันการติดเชื้อร่วมกับ บีเซลล์

                นอกจากนี้ วิตามิน อี ยังเป็นวิตามินที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและยังช่วยปรับสมดุลของน้ำและไขมันในชั้นผิวหนังและรักษาความชุ่มชื่นของผิวพรรณให้สดใส เรียบเนียนอีกด้วย อีกทั้งยังช่วยให้ร่างกายสามารถทนต่อรังสี UV ในแสงแดดได้ดีขึ้น

                พบว่าในเกลือแร่ในนมแพะ ได้แก่ แคลเซียมมีฤทธิ์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ด้วย โดยแคลเซียม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาวกับลิมโพไซด์ในการจับเกาะสิ่งแปลกปลอม เพิ่มการหลั่งสารในตัวกลาง ปฏิกิริยาการสร้างภูมิคุ้มกัน

               ซิลีเนียม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเซลล์ที่ทำหน้าที่ภูมิคุ้มกัน สังกะสี ช่วยสร้างและเสริมการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว นิวโทรฟิล และเซลล์ดักจับ รวมทั้งป้องกันเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันถูกทำลายโดยการลดไซโตไคท์ ซึ่งควบคุมการบวมอักเสบและสร้างบีและที เซลล์ให้แก่ร่างกาย

 

 3.ลดปัญหาเรื่องไขมัน ป้องกันได้ด้วยดื่มนมแพะเป็นประจำ


 4.อันตรายของการมีระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง  เมื่อร่างกายมีระดับคลอเลสเตอรอลสูงเกินความต้องการ ไม่ว่าจะเกิดจากการที่ร่างกายสร้างขึ้นจากตับหรือได้รับอาหาร ปริมาณคลอเลสเตอรอลส่วนเกินจะไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือดและมีแนวโน้มที่จะเกาะกับผนังเส้นเลือด เมื่อมากขึ้นจะทำให้เส้นเลือดมีขนาดเล็กลง ความยืดหยุ่นของเส้นเลือดน้อยลงโดยเฉพาะเส้นเลือดหัวใจ ซึ่งเรียกว่า Atherosclerosis มีผลทำให้การไหลเวียนของเลือดลดลง ส่งผมให้เกิดโรคหัวใจหรือเส้นเลือดในสมองแตกได้ หรืออาจเกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ หรือเป็นโรคบางอย่าง เช่น โรคไต โรคตับ โรคเบาหวานที่ไม่ได้รับการรักษา โรคต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อย เป็นต้น และไม่ว่าคลอเลสเตอรอลในเลือดจะสูงจากสาเหตุใดก็ตาม ก็สามารถคุกคามให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งได้เหมือนกัน โอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือดสูง ร่างกายปกติระดับคลอเลสเตอรอลอยู่ในช่วง 150-250 mg/dl ส่วนระดับของไตรกลีเซอไรด์จะอยู่ระหว่าง 35-160 mg/dl ซึ่งหากผลการตรวจสอบระดับคลอเลศเตอรอลสูง มักจะพบระดับของไตรกลีเซอไรด์สูงตามด้วยปัจจัยเสี่ยงต่อผู้มีระดับคลอเลสเตอรอลสูง ได้แก่ ผู้ที่สูบบุหรี่และผู้ที่มีความดันโลหิตสูงจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจสูง

5..กลไกการบำบัดโรคของนมแพะ  คุณสมบัติพิเศษของนมแพะในเรื่องดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับกรดไขมันที่มีอยู่ในนมแพะ ได้แก่ คาโพรอิก คาพรีลิก และคาพริก กรดไขมันเหล่านี้ จะช่วยสลายการสะสมคลอเลสเตอรอลในเส้นเลือด และยังช่วยปรับระดับไขมันในเลือดให้เลือดหมุนเวียนได้สะดวก จึงช่วยลดการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันและโรคหัวใจขาดเลือดได้

 ดังนั้น เพื่อเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย โดยเฉพาะคนที่เป็นภูมิแพ้ควรดื่มนมแพะประจำ ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิต้านทานมากขึ้น

 นอกจากนี้ นมแพะยังมีกรดไขมันชนิดพิเศษที่วงการแพทย์ให้ความสนใจวามีส่วนช่วยยับยั้งการสร้างคลอเลสเตอรอลในเส้นเลือด และยังช่วยสลายนิ่วในถุงน้ำดีได้อีกด้วย.

ตัวอย่างเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะนม  คุณเฉลิมพงษ์  ชาติวัฒนา  “วัฒนาฟาร์ม”  134  หมู่6  ตำบลทุ่งหมอ  อำเภอสะเดา

คุณเฉลิมพงษ์  เริ่มเลี้ยงแพะเมื่อปี พ.ศ.2550 โดยปรับปรุงพื้นที่สวนยางพารา  มาสร้างเป็นคอกแพะ