การบริโภคเนื้อแพะ เพื่อความยั่งยืน

             ในหลายๆประเทศที่เจริญแล้ว ผู้บริโภคเนื้อสัตว์จะตระหนักถึงอันตราย และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  ความจำเป็นในการผลิตเนื้อสัตว์  ต้องมีเรื่องที่ดินเพื่อการเกษตรในการผลิตอาหาร  การใช้น้ำ และใช้พลังงาน  ประชาชนบริโภคเนื้อสัตว์ นม ในแต่ละวันจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  เนื้อสัตว์ถูกจัดเข้าไปในกลุ่มของเนื้อสัตว์สีแดง  ที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม  เนื้อแพะเป็นเนื้อที่มีการบริโภคมากที่สุดในโลก  ประมาณร้อยละ 70 ของการบริโภคเนื้อแดงทั้งหมด  นมแพะก็เป็นนมที่บริโภคมากที่สุดในโลกด้วย

             เนื้อและผลิตภัณฑ์นม ที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด คือ เนื้อแกะ  เนื้อวัวและชีส(เนยแข็ง)  ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก

              ในแง่ของคุณค่าทางโภชนาการ  แพะเป็นทางเลือกด้านสุขภาพที่ดี  เพราะเนื้อแพะมีไขมันต่ำมาก (แพะ 3%  ไก่ 7.4%  เนื้อวัว 18.8%)  เนื้อแพะมีแคลอรี่น้อย และโคเลสเตอรอลน้อยกว่าเนื้อไก่  เนื้อสุกร เนื้อแกะ  นมแพะยังมีโปรตีนสูง  โคเลสเตอรอลต่ำ  และมีแคลเซียม  โปแตสเซียม  และวิตามินมากกว่านมวัว  นมแพะยังย่อยได้ง่ายและมีแลคโตสน้อยกว่า ร้อยละ 7  เป็นทางเลือกที่ดีให้สำหรับผู้ที่มีปัญหาระบบการย่อยอาหาร

             จะเห็นได้ว่า ประชาชนประเทศสหรัฐอเมริกา  ได้ตระหนักถึงอันตรายและมีผลต่อสิ่งแวดล้อม  ในการบริโภคเนื้อสัตว์  ทำให้การผลิตและการบริโภคแพะในประเทศสหรัฐอเมริกาปัจจุบัน  มีแพะเป็นสองเท่าของจำนวนแพะในช่วง 20 ปีที่แล้ว  มีการประชาสัมพันธ์ โดยสมาคมผลิตภัณฑ์นมแพะ หรือสมาคมแพะบอรือเมริกัน  มุ่งเน้นให้แพะเป็นทางเลือกด้านสุขภาพ และความยั่งยืน  ทางเลือกใหม่แทนที่ เนื้อวัว  เนื้อไก่  เนื้อสุกร  เนื้อแกะ

             อย่างไรก็ตาม การผลิตแพะในประเทศไทย  สามารถเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค เลือกบริโภคเนื้อแพะ  นมแพะ เพื่อผลดีต่อสุขภาพผู้บริโภค และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นทางเลือกการบริโภคเนื้อแดงที่ค่อนข้างยั่งยืน  เพราะแพะเป็นสัตว์กินใบไม้มากกว่าการแทะเล็มหญ้าอย่างวัวหรือแกะ  ซึ่งแพะจะไม่ทำลายระบบรากต้นไม้  และไม่ทำให้ดินสูญเสียความอุดมสมบูรณ์  จากการกินใบไม้พุ่มเตี้ย  และวัชพืช  แพะจึงช่วยลดการแย่งสารอาหารในดินของวัชพืช  ทำให้ทุ่งหญ้ามีคุณภาพดีขึ้น  และแพะัยังใช้พื้นที่เลี้ยงน้อยกว่าวัว

             ผมได้มีโอกาสประชาสัมพันธ์เผยแพร่ จุดเด่นการบริโภคเนื้อแพะ  นมแพะ เพื่อสุขภาพที่ดี และผลกระัทบต่อสิ่งแวดล้อม  ต่อพี่น้องเกษตรกรทุกครั้งที่ได้ไปเยี่ยมหรือมีโอกาสในคราวที่ได้ประชุม สัมมนา  หรือแม้กระทั่งเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมหลักสูตรต่างๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกษตรกรเลี้ยงแพะเพิ่มมากขึ้น  บริโภคเนื้อแพะ นมแพะ เพิ่มมากขึ้น สร้างอาชีพที่มั่นคง เพิ่มรายได้ สร้างความสามัคคี รักชาติ รักแผ่นดิน

 

 

บทความโดย นายสัตวแพทย์วีรชัย วิโรจน์แสงอรุณ ปศุสัตว์จังหวัดสงขลา วันที่ 22 ก.พ. 2556