แนวทางทำวัคซีนแมวในประเทศไทย

               สัตว์แพทย์หลายๆท่านอาจจะยังมีข้อสงสัยในเรืองการทำวัคซีนที่แนะนำให้ทำทุกๆปีจากต่างประเทศ ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยแค่ไหน และเป็นประเด็นที่สัตวแพทย์หลายๆท่านให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องแนวทางการทำวัคซีนในแมวที่ยังสร้างความสับสนให้กับสัตวแพทย์บ้านเรา  ว่าท้ายสุดเราก็จะเชื่อแนวทางของต่างประเทศได้มากน้อยเพียงใด?

                หากสัตวแพทย์ท่านใด ที่ติดตามข่าวสารในด้านโรคติดเชื้อในแมวอย่างเกาะติดแล้วล่ะก็ คงจะทราบอย่างแน่นอนว่าเกาะติดตามแล้วล่ะก็ คงจะทราบอย่างแน่นอนว่า ชมรมสัตวแพทย์ผู้นำโรคแมวแห่งประเทศไทย หรือ TSoFP ได้จัดทำโปรแกรมวัคซีนประจำปีที่เหมาะสมกับบ้านเรา เพื่อเป็นแนวทางให้กับสัตวแพทย์ไทยได้อัพเดตความรู้กันในงานสัมมนาวิชาการประจำปีของชมรมผู้ประกอบการบำบัดโรคแมวแห่งประเทศไทยที่พึ่งผ่านมาสดๆร้อนๆ ซึ่งแนวทางต่างๆได้กลั่นกรองมาจากองค์ความรู้ตลอดจนประสบการณ์ที่ทำงาน รวมทั้งงานวิจัยที่แต่ละท่านได้ทำมา เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมารวบรวม จนได้แนวทางการทำวัคซีนในแมวที่เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากกับการทำงานของสัตวแพทย์ไทยรวมถึงช่วยดูแลสุขภาพของแมวได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

                วันนี้ 3 ตัวแทนด้านวิชาการจาก TSoFP ได้แก่ รศ.สพ.ญ.พรรณจิตต์ นิลกำแหง รวมทั้ง รศ.สพ.ญ.ดร.รสมา ภู่สุนทรธรรม และ อ.สพ.ญ.ดร.วรพร สุขุมาวาสี ได้สละเวลามาพูดคุยกับเราเพื่อช่วยไขความกระจ่างในเรื่องนี้

ที่มาของการทำตารางวัคซีนแมวในประเทศไทย

                เนื่องจากในข้อมูลเรื่องโรคติดเชื้อในแมวในปัจจุบันนี้มีความทันสมัยขึ้น ซึ่งก็สร้างความสับสนหรือทำให้เกิดความลังเลกับสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์อยู่พอสมควร เราจึงเริ่มคิดกันว่าจะทำอย่างไรดีที่จะช่วยให้สัตวแพทย์มีแนวทางในการป้องกันโรค เพื่อให้ความสามารถยึดถือไปเป็นแนวทางปฎิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ เราก็เลยคิดว่าโปรแกรมการทำวัคซีนแมวที่เหมาะกับบ้านเราน่าจะเป็นประโยชน์ และนำมาใช้ได้จริงในพื้นที่ประเทศของเรา

                เมื่อปลายปีที่ผ่านมา WSAVA ได้ออก Guideline เรื่องการทำวัคซีนในสัตว์เลี้ยงขึ้นมา คิดว่า Guideline นี้มีความเหมาะสมกับบ้านเรามากขึ้นเพียงใด

                อ.พรรณจิตต์ให้คำแนะนำว่า จริงๆแล้วคำแนะนำ หรือการทำ Guideline ในการฉีดวัคซีนก็ขึ้นอยู่กับอุบัติการณ์ของโรคที่เกิดขึ้นในประเทศนั้น เขตนั้น เพราะหากจะพูดถึงแค่เฉพาะในประเทศไทยเราเอง ไม่ว่าจะ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก หรือภาคตะวันตก ก็มีอุบัติการณ์ของโรคที่แตกต่างกันในหลายด้าน  ดังนั้นการเลือกใช้วัคซีนบางชนิด แต่บ้านเรากับประเทศ ก็มีความแตกต่างกันหลายด้าน ดังนั้นการเลือกใช้วัคซีน ก็อาจมีความแตกต่างกันในพื้นที่ต่างๆ ยกตัวอย่างเช่นต่างประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการทำวัคซีนนั้นก็เพราะว่าโรคบางโรคมีอุบัติการณ์ที่ลดลง หรืออาจจะพิสูจน์ไม่ได้ว่าวัคซีนตัวนี้เหมาะกับในท้องที่ประเทศนั้นหรือไม่ ในประเทศนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้ หรือบอกไว้ว่าเป็นเพียงวัคซีนที่ควรจะต้องพิจาณาการใช้ในแมวกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง สำหรับประเทศไทยเอง กรรมการชมรมหลายท่านได้ให้ความใส่ใจในเรื่องโรคติดเชื้อในแมวอยู่แล้วรวมทั้งมีผลวิจัยสนับสนุนว่าบ้านเรายังมีโรคติดเชื้อบางโรคชุกชมอยู่จริงๆ จึงคิดว่าเราน่าจะให้หลักการเกี่ยวกับสัตวแพทย์เพื่อนำไปใช้ ซึ่งบางอย่างเราก็อ้างอิงข้อมูลจากสมาคมแมวในยุโรปหรืออเมริกาเหมือนกัน  ซึ่งในขณะเดียวกันเราต้องพิจารณาอุบัติการณ์ของโรคในบ้านเราเหมือนกันว่าเป็นอย่างไร ถ้าเปรียบเทียบจะคล้ายๆกับโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย เราอาศัยการเก็บข้อมูลด้านอุบัติการณ์ในสุนัขทำให้เรามี recommendation ที่ต่างออกไปจากประเทศอื่นๆ ทั่วโลก

                อุบัติการณ์ของโรคพิษสุนัขบ้าบ้านเรายังสูงอยู่มาก ในต่างประเทศแนะนำให้ทำวัคซีนพิษสุนัขบ้าทุก 3 ปี ส่วนเมืองไทยแนะนำให้ทำทุกปี โดยเฉพาะในปี 2555 นี้จะเห็นยิ่งเด่นชัดมาก สืบเนื่องจากเกิดปัญหาอุทกภัยขึ้น ทำให้เกิดปัญหาสุนัขพลัดถิ่น กระทรวงสาธารณสุขก็ได้ออกมาบอกว่าอุบัติการณ์ของโรคพิษสุนัขบ้าจะสูงขึ้นซึ่งเรื่องการทำวัคซีนนั้นมันเป็นความเกี่ยวเนื่องกับความชุกของโรคในแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน  สิ่งที่เกิดขึ้นก็ไม่ใช่ว่าเราจะมานั่งคิดกันเองนะคะ แต่เราก็อาศัยประสบการณ์และข้อมูลด้านงานวิจัยที่เคยทำมาโดยเฉพาะวัคซีน FeLV และ FIV อ.รสมากล่าว          

                อ.วรพร ได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า สำหรับเรื่อง    FeLV และ FIV เราก็อาศัยข้อมูลที่ อ.พรรณจิตต์และ อ.รสมา ได้ทำงานวิจัยมาในอดีต แล้วก็ล่าสุดจากข้อมูลที่ตัวอาจารย์เองได้รวบรวมมาพบว่ามีอุบัติการณ์ของโรคกว่าร้อยละ 20-25 อันนี้เป็นข้อมูลเฉพาะในส่วนที่โรงพยาบาลสัตว์เล็กคณะสัตวแพทย์ จุฬาฯ ไม่ได้รวมถึงแมวทั่วไป

อุบัติการณ์ของโรคที่ลดลงจากการทำวัคซีน

                ถ้ายกตัวอย่างโรคติดเชื้อที่สำคัญอย่าง FeLV  และบอกได้เลยว่า FeLV  มีอัตราการเสี่ยงชีวิตสูงกว่า FIV ,มีอัตราการเสี่ยงชีวิตสูงกว่า FIV ด้วยซ้ำ สิ่งที่ตามมาจากการเป็นโรคมีมากมาย FeLV   มีผลต่อการทำงานในร่างกายในทุกระบบและทำให้เกิดมะเร็งในแมวได้ และเมื่อพูดถึงการทำวัคซีน FeLV  ในต่างประเทศก็จะเห็นได้ชัดเจนได้ดีเพราะในต่างประเทสมีคำแนะนำว่าให้ทำเป็น routine  และการทำวัคซีนให้อุบัติการณ์ของโรคลดลงอย่างเห็นชัด แต่ในเมืองไทยเราไม่ได้ดันวัคซีนตัวนี้เข้าไปอยู่ในกลุ่ม core vaccine เลย นี่จึงเป้นครั้งแรกที่เราเอา FeLV   เข้าไปอยู่ในกลุ่ม core vaccine หลังจากนี้เราก็จะทำการเก็บตัวเลขกันต่อไปว่าเมื่อดึง  FeLV  มาอยู่กลุ่ม  core vaccine แล้ว อุบัติการณ์ของโรคจะลดลงหรือไม่ ขอแนะนำในการทำวัคซีนในแมวชนิดอื่นๆ

               ในบ้านเราก็ยังมีอุบัติการณ์ของโรค FIP อยู่พอสมควร ไม่ใช่ว่าไม่มีเลย เหตุที่เราแนะนำให้มีการพิจารณาใช้วัคซีนตัวนี้นั้นก็เนื่องจากว่าแมวที่มารับการทำวัคซีนควรมีการตรวจหาแอนติบอดีก่อนที่จะทำวัคซีนด้วย คงจากข้อมูลด้านวิชาการต่างๆ ก็กล่าวไว้ชัดเจนว่าแมวที่ตรวจพบแอนติบอดีแล้ว ไม่ได้แปลว่าในอนาคตจะเป็นหรือไม่เป็น FIP เพราะฉะนั้นความไม่แน่นอนด้ายสถานภาพของโรคนี้เองทำให้การจัดการโรคกลายเป็น

               เรื่องยาก “ดังนั้นสัตวแพทย์ควรพิจารณาวัคซีนตัวนี้ในบ้านเราตามความเหมาะสม ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างจากคำแนะนำเรื่องการทำวัคซีนในต่างประเทศ” อ.พรรณจิตต์สรุป

 

Feline Vaccination Guideline

               พอพูดถึงเรื่องวัคซีน ทุกคนก็มักจะนึกถึงสุนัข สัตวแพทย์ไทยท่อตารางวัคซีนสุนัขกันจนคล่องหมดแล้ว ที่ผ่านมาสำหรับ guidelineวัคซีนแมว ถึงทางชมรมจะเคยทำมาก่อน ซึ่งก็ล่วงเลยมานานพอสมควรแล้ว แต่ก็ไม่ได้การกระจายข้อมูลไปในวงการได้กว้างนัก ในครั้งนี้ชมรมแมวจึงได้ทำตารางการทำวัคซีนในแมวออกมาในรูปแบบของโปสเตอร์ ซึ่งการทำเป็นโปสเตอร์ก็มีประโยชน์ตรงที่ว่าจะช่วยกระจายความรู้ในเรื่องการทำวัคซีนได้ดีขึ้นโดยที่ไม่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ เจ้าของแมวก็สามารถมองเห็นสัตวแพทย์ก็มองเห็นได้ง่ายภายในสถานพยาบาลของตัวเอง ซึ่งก็เหมือนเป็นการกระตุ้นในเกิดความตระหนักในเรื่องสุขภาพของแมวในอีกทางหนึ่ง และเจ้าของแมวก็จะรู้จักโรคที่เกิดในแมวมากขึ้นด้วย ไม่ใช่เข้าใจไปว่าแมวจะแข็งแรงตลอดไปโดยไม่เจ็บไม่ป่วย โรคต่างๆมันยังมีเยอะแยะไปหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะการเลี้ยงแมวในบ้านเราที่เป็นแมวเลี้ยงปล่อย ไม่ต้องไปพูดถึงแมววัดที่ยิ่งไม่ได้รับการทำวัคซีนเลย เราหวังว่านี้จะเป็นกาช่วยในกาป้องกันโรคอีกทางหนึ่ง น่าจะมีการกระตุ้นให้มีการป้องกันโรคต่างๆเอาไว้ก่อน

ปัญหาโรคจากสัตว์สู่คน

               สิ่งที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่งที่สัตวแพทย์ต้องคำนึงถึงก็คือ Retrovirus ซึ่งป็นไวรัสกลุ่มที่ทำให้เกิด immunosuppressive ถ้าหากเราป้องกันตัวนี้ได้ ก็จะไม่มีการติดเชื้อฉวยโอกาสอื่นๆ แทรกซ้อนตามมา และอีกประการหนึ่งคือโรคนี้เป็นโรคจิตจากสัตว์สู่คน(Zoonosis) ด้วย ซึ่งอาจติดต่อไปสู่เจ้าของสัตว์ได้ บางบ้านแมวตายหรือหายป่วยแล้ว หากมีเฉพาะโรคไวรัสโดยปกติก็จะไม่ทรมานต่อสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว แต่โรคที่ติดพ่วงมานั้นกำจัดได้ยากกว่า

               การกระตุ้นการป้องกันโรคในแมวจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สัตวแพทย์ไม่ควรละเลย และแนะนำเจ้าของให้ไม่มองข้ามโรคนี้ไปด้วย

               การดูแลสุขภาพประจำปีก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้อุบัติการณ์ของโรคติดเชื้อร้ายแรงลดลงไปได้”พูดตรงๆว่าการรักษาโรคในแมวเป็นเรื่องยากมากจึงยากจะเน้นการป้องกัน” อ.รสมา กล่าวหากว่าเราสามารถป้องกันโรคได้ หรือเจ้าของแมวได้รับความรู้จากสัตวแพทย์อย่างเหมาะสม และเลี้ยงดูแมวด้วยความเอาใจใส่ โรคภัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับแมวก็จะมีน้อยถึงไม่มีเลย