การนำเข้าซากสัตว์
1.การยื่นคำร้องขออนุญาตนำเข้าฯ ผู้ขออนุญาตต้องดำเนินการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน และควรจะติดต่อด้วยตนเอง โดยยื่นคำร้องเป็นหนังสือ ตามที่กรมปศุสัตว์กำหนด พร้อมแนบสำเนาหลักฐานบัตรประจำตัวมาด้วยทุกครั้ง ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่สามารถติดต่อด้วยตนเองได้ ให้มีหนังสือ มอบอำนาจแนบมาทุกครั้ง
2.กรมปศุสัตว์จะตรวจสอบภาวะโรคของประเทศต้นทางจนมั่นใจว่าปลอดภัยจริงจึงออกหนังสืออนุมัติในหลักการอนุญาตนำซากสัตว์เข้าราชอาณาจักร ฉบับภาษาอังกฤษ (Import Permit) พร้อมกำหนดเงื่อนไข (Requirement) การเข้าของซากสัตว์นั้น
3.ผู้ขออนุญาตเมื่อได้รับเอกสารหนังสืออนุมัติในหลักการอนุญาตนำเข้าฯ ฉบับภาษาอังกฤษ (Import Permit) ของกรมปศุสัตว์แล้วนำส่งไปยังประเทศ ต้นทางจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไข (Requirement) ที่กรมปศุสัตว์กำหนด (เงื่อนไขประกอบการนำซากสัตว์เข้าประเทศของกรมปศุสัตว์จะ ปรับปรุงเสมอ เพื่อให้เป็นปัจจุบันและป้องกันมิให้โรคระบาดสัตว์ทุกชนิดจากต่างประเทศเข้ามายังประเทศไทย)
4.ผู้ขออนุญาตต้องแจ้งยืนยันการนำเข้าต่อเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ ณ ด่านกักกันสัตว์ ระหว่างประเทศประจำท่าเข้านั้นเกี่ยวกับวัน เวลา ที่นำเข้าและเที่ยวบิน เที่ยวเรือ หรือเที่ยวขบวนรถไฟ หรือทะเบียนยานพาหนะที่ใช้บรรทุก ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน ก่อนซากสัตว์เดินทางมาถึง เพื่อสัตวแพทย์จะได้เตรียมการอำนวยความสะดวกตรวจสอบซากสัตว์ ทำลายเชื้อโรคและออกเอกสาร ใบแจ้งอนุมัตินำเข้าฯ (ร. 6) ให้ผู้ขอนำไปติดต่อดำเนินการทางพีซีศุลกากรที่ด่านศุลกากรประจำท่าเข้านั้น
5.ซากสัตว์ที่นำเข้าต้องมีเอกสารหนังสือรับรองสุขศาสตร์ซากสัตว์ (Health Certificate) เป็นภาษาอังกฤษ ออกให้โดยสัตวแพทย์รัฐบาลผู้มีอำนาจเต็มจากประเทศต้นทาง ถ้าเอกสารรับรองเป็นภาษาอื่นให้แปลเป็นภาษาอังกฤษ และรับรองโดยเจ้าหน้าที่ของประเทศต้นทางประจำประเทศไทย หนังสือรับรองสุขศาสตร์ซากสัตว์ (Health Certificate) ต้องตรงตามเงื่อนไข (Requirement) ที่กรมปศุสัตว์กำหนด มิฉะนั้นซากสัตว์นั้นจะไม่อนุญาตให้นำเข้าประเทศไทย
6.ผู้นำเข้าต้องเตรียมสำเนาเอกสารแสดงราคาซากสัตว์มอบให้เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ทุกครั้งที่นำซากสัตว์เข้าราชอาณาจักร
การดำเนินการช่วงนำเข้า
1.ผู้นำซากสัตว์เข้าราชอาณาจักรต้องเสียค่าธรรมเนียมนำเข้าตามที่กำหนดในกฏกระทรวงฯ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499
2.เมื่อเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนแล้วจะออกใบอนุญาตนำเข้าฯ (ร. 7) ให้ผู้ขออนุญาตนำเข้า เพื่อใช้ในการตรวจปล่อยสินค้า