น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร

มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

พระราชกรณียกิจ "ด้านปศุสัตว์"

โครงการธนาคารโค กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ  

 

 

 1    2             34

       "....ธนาคารโคและกระบือ ก็คือ การรวบรวมโคและกระบือโดยมีบัญชีควบคุม ดูแล รักษา แจกจ่าย ให้ยืมเพื่อใช้ประโยชน์ในการเกษตร และเพิ่มปริมาณโคและกระบือตามหลักการของธนาคาร ธนาคารโคและกระบือเป็นเรื่องใหม่ของโลกที่มีความจำเป็นเกิดขึ้น เพราะปัจจุบันมีความคิดแต่จะใช้เครื่องกลไก เป็นเครื่องทุนแรงในกิจการเกษตรแต่เมื่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงแพงขึ้น ความก้าวหน้าในการใช้เครื่องกลไกเสียไป จำเป็นต้องหันมาพึ่งแรงงานจากสัตว์ที่เคยใช้อยู่ก่อน เมื่อหันกลับมาปรากฏว่ามีปัญหามาก เพราะชาวนาไม่มีเงินซื้อโคและกระบือมาเลี้ยงเพื่อใช้แรงงาน
ธนาคารโคและกระบือ พอจะอนุโลมใช้ได้เหมือนธนาคารที่ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน เพราะโดยความหมายทั่วไป ธนาคารก็ดำเนินกิจการเกี่ยวกับสิ่งมีค่ามีประโยชน์การตั้งธนาคารโคและกระบือก็มิใช่ว่าตั้งโรงขึ้นมาเก็บโคหรือกระบือ เพียงแต่มีศูนย์กลางขึ้นมา เช่น อาจจัดให้กรมปศุสัตว์เป็นศูนย์รวม ใครจะสมทบธนาคารโคและกระบือ ก็ไม่จำเป็นต้องนำโคและกระบือไปมอบให้ อาจบริจาคในรูปของเงิน...."

     ประวัติความเป็นมา   วันที่ 30 มิถุนายน 2522 ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ทรงทราบถึงปัญหาเกษตรกรต้องเช่าโค-กระบือไถนา และต้องจ่ายค่าเช่า เมื่อจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรแล้วก็แทบไม่เหลืออะไรเลย จึงทรงมีพระราชดำริให้กรมปศุสัตว์จัดตั้ง “โครงการธนาคารโค-กระบือ” ขึ้น เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ยากจนได้มีโอกาสมีโค-กระบือไว้ใช้แรงงานเป็นของตนเอง โดยการเช่าหรือเช่าซื้อหรือวิธีการอื่นใด ในราคาที่ถูกจากส่วนราชการ องค์กร หรือเอกชน ฯลฯ

    วัตถุประสงค์ของโครงการ  เพื่อช่วยให้เกษตรกรที่ยากจนทั่วประเทศได้มีโค-กระบือ ไว้ใช้แรงงานและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรเป็นการช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

เลี้ยงวัวนม อาชีพพระราชทานของในหลวง ร.9

6  1

2  3

4  5


    ประวัติความเป็นมา  เมื่อ พ.ศ. 2503 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จประพาสยุโรปเป็นเวลา 6 เดือนซึ่งในยุคนั้นอยู่ในช่วงสงครามเย็นไทยจึงจำเป็นต้องสร้างสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ เพื่อแสดงว่าไทยเป็นมิตรกับโลกเสรี ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงนำความรู้จากต่างประเทศเข้ามาปรับใช้ในประเทศไทยด้วย เมื่อพระองค์ทรงเยือนประเทศเดนมาร์ก  พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยกิจการเลี้ยงโคนมของที่นี่และทรงเห็นว่าการเลี้ยงโคนมเป็น อาชีพที่มั่นคงและสามารถช่วยให้คนไทยมีนมไว้ดื่มกิน ซึ่งหากประเทศไทยมีการเลี้ยงโคนมก็จะมีอาหารคุณภาพที่ดีเพิ่มขึ้นมาอีกเพื่อเป็นตัวเลือกให้ประชาชนอีกทาง

       โดยสมัยนั้นการเลี้ยงโคนมในไทยยังจำกัดอยู่ในชุมชนชาวอินเดียกลุ่มเล็กๆ ด้วยพระราชดำริของพระองค์ ทำให้ในปีถัดมาฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ก จึงถือกำเนิดขึ้นที่อำเภอมวกเหล็กจังหวัดสระบุรี ถือเป็นฟาร์มโคนมแห่งแรกของประเทศไทยหลังรัฐบาลเดนมาร์กน้อมเกล้าถวายโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย

         ต่อมาในปีพ.ศ. 2505 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงสร้างโรงโคนมสวนจิตรลดาขึ้นในเขตพระราชฐาน เพื่อทดลอง ปรับปรุงสายพันธุ์วัวให้เข้ากับอากาศร้อนของประเทศไทย พร้อมเผยแพร่วิชาการเลี้ยงวัวนม โดยในหลวงร.9 ทรงให้ปลูกหญ้าและพืชไว้เป็นอาหารวัวเพราะเป็นวิธีเลี้ยงที่ประหยัดและเหมาะกับเกษตรกรในชนบท

          นอกจากการให้วิชาความรู้การเลี้ยงวัวนมการตั้งโรงโคนมแห่งนี้ยังถือเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนดื่มนมสดโดยมีการนำนมวัวไปจำหน่ายให้ประชาชนในราคาถูกอีกด้วย นับแต่นั้นมาการเลี้ยงโคนมในเมืองไทยจึงกลายเป็นตัวเลือกใหม่ของเกษตรกร ต่อมาในปี 2509 เกิดปัญหาน้ำนมดิบล้นตลาดเพราะไม่มีโรงงานแปรรูปและจำนวนคนดื่มไม่มากพอกับน้ำนมที่ผลิตออกมา เมื่อพบปัญหาในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ก่อตั้งโรงนมผงสวนดุสิต โรงงานผลิตนมผงแห่งแรกของไทยเพื่อแปรรูปนม เป็นการแก้ปัญหา หลังจากนั้นยังมีการตั้งโรงงานแปรรูปนมอื่นๆ เพิ่มบนพื้นที่โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา อาทิ นมอัดเม็ด,เนยแข็ง,นมยูเอชที ไปจนถึงโรงน้ำดื่มซึ่งผลิตจากน้ำที่เหลือจากกระบวนการระเหยนม เป็นการสาธิตผลิตนมแบบครบวงจร นอกจากนี้ในหลวงรัชกาลที่9 ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ก่อตั้งโรงนมผงหนองโพที่จังหวัดราชบุรี เพื่อช่วยแก้ปัญหาน้ำนมดิบล้นตลาด โดยต่อมาที่แห่งนี้จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด และมีนมสดชั่งหัวมันซึ่งเป็นผลผลิตมาจากโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ

            ดังนั้นการเลี้ยงโคนมจึงถือเป็น"อาชีพพระราชทาน" ที่ในหลวงรัชการที่9 ทรงมีต่อประชาชนชาวไทยเพื่อสร้างอาชีพ ให้เกิดน้ำนมคุณภาพดีให้ชาวไทยดื่ม เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงสืบไป

3.สัตว์ทรงเลี้ยง และสัตว์ทีทรงพระราชทานชีวิตใหม่ โดยในหลวง รัชกาลที่ ๙