เรามารู้จักสารเร่งเนื้อแดงกลุ่มเบต้า อะโกนิสต์ (B-agonist) กันเถอะ

          สารเร่งเนื้อแดงกลุ่มเบต้า อะโกนิสต์ (B-agonist) จัดอยู่ในกลุ่มของ Adrenergic  drug หรือ Sympathomimetic drug มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของหัวใจ ขยายหลอดลม สลายไขมัน เพิ่มระดับกลูโคสในเส้นเลือด  จึงมีการนำมาใช้ในการเลี้ยงสัตว์ เพื่อลดการสะสมไขมัน และเพิ่มการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ แต่สารแรคโตปามีน เป็นสารกลุ่มเบต้า อะโกนิสต์ที่ถูกพัฒนาออกฤทธิ์เฉพาะในส่วนของการสลายไขมัน และเพิ่มกล้ามเนื้อ ดังนั้น  จึงมีการขึ้นทะเบียนยา และนำมาใช้อย่างถูกกฎหมายในประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดา  โดยมีการใช้ผสมอาหารในขนาด 20 ppm  และสามารถใช้ได้โดยไม่มีระยะหยุดยา

           โครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทส (Codex  Alimentarius  Commission : CAC)  ได้กำหนดค่าระดับปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดในอาหารของสารแรคโตปามีนในเนื้อสัตว์ได้ 10 ppb  ตับ 40 ppb  และไต  90 ppb

           ผลดีและผลเสียจากการกำหนดปริมาณสารปรอทตกค้างสูงสุดในอาหารของสาร แรคโตปามีน

                    ผลดี

                       1.สามารถลดต้นทุนการผลิตสุกร จากการลงทุนต้นพันธุ์สัตว์และสูตรอาหาร

                       2.เพิ่มประสิทธิภาพการใช้อาหาร

                       3.เพิ่มปริมาณเนื้อแดงสุกร

                       4.แก้ปัญหาการใช้สารเร่งเนื้อแดงแบบผิดกฎหมาย

                    ผลเสีย

                       1.มีการตกค้างในเนื้อสัตว์ และอวัยวะภายใน ถึงแม้ว่าจะมีค่าสูงสุดที่ยอมรับได้ แต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับจากสังคม

                       2.ลดการแข่งขันด้านพันธุ์สัตว์

                       3.ลดการแข่งขันด้านอาหาร

                       4.มีปัญหากับกลุ่มประเทศคู่ค้า เช่น สหภาพยุโรป ซึ่งเป็นคู่ค้าหลัก

           สังเกตุเนื้อก่อนเลือกซื้อ เพื่อป้องกันตัวเองจากการบริโภคเนื้อสุกรที่เสี่ยงด้วยสารเร่งเนื้อแดง

                      1.สุกรที่ยังมีชีวิตอยู่ถ้าเลี้ยงด้วยสารเร่งเนื้อแดง จะมีลักษณะคล้ายนักเพาะกายจะเห็นมัดกล้ามเนื้อนูนเด่นกว่าปกติ โดยเฉพาะสะโพก สันหลัง หรือบริเวณหัวไหล่ ถ้าสุกรได้รับสารในปริมาณมาก จะมีอาการสั่นตลอดเวลา

                        2.เนื้อสุกรจะมีสีแดงคล้ำกว่าปกติ

                        3.เนื้อที่หั่นทิ้งไว้จะมีลักษณะเนื้อค่อนข้างแห้ง แต่เนื้อปกติเมื่อหั่นทิ้งไว้จะพบน้ำซึมออกมาบริเวณผิว

                        4.ส่วนของเนื้อสุกรสามชั้นที่ใช้สารเร่งเนื้อแดง จะมีปริมาณเนื้อสูงถึง 3 ส่วนต่อมัน 1 ส่วน (25%) มีลักษณะเนื้อแดงมากกว่ามัน แต่เนื้อปกติจะมีเนื้อแดง 2 ส่วน ต่อมัน 1 ส่วน (33%)

           บทความโดย นายสัตวแพทย์วีรชัย วิโรจน์แสงอรุณ ปศุสัตว์จังหวัดสงขลา วันที่ 26 ก.พ. 2556