หัวหน้าส่วนราชการ

  pvlo2
 
นายพินิจ  สวัสดิรักษา
ปศุสัตว์จังหวัดสงขลา
 

กิจกรรมปศุสัตว์จังหวัดสงขลา

ปศุสัตว์จังหวัดสงขลาช่วยเหลือเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ที่ประสบภัยพิบัติ

ป้องกันแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ

flood

ข่าวประชาสัมพันธ์และการให้บริการประชาชน

ภาพกิจกรรมสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ

ดาวโหลดแบบฟอร์มและโปรแกรม

ผลงานวิชาการ

ไอคอนลิงค์

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

สำหรับเจ้าหน้าที่

สถิติผู้เข้าชมเว็บ

เริ่มนับตั้งแต่วันที่
80443
Today25
Yesterday53
This_Week176
This_Month986
All_Days80443

กำลังออนไลน์

มี 157 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

สถิติผู้เข้าชม (Truehits)

การนำเข้าสัตว์มีชีวิต

การดำเนินการล่วงหน้า

1.ติดต่อ สอบถาม ขอคำแนะนำเบื้องต้นจากเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศประจำท่าเข้านั้น

2.เนื่องจากสัตว์นำเข้าต้องผ่านการกักตรวจจากสัตวแพทย์ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศ ณ คอกกักกันสัตว์ของด่าน หากผู้นำเข้าประสงค์จะกักกันสัตว์ให้เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์กรมปศุสัตว์ตรวจรับรองความเหมาะสมให้เรียบร้อยก่อน

3.การยื่นคำร้องขออนุญาตนำเข้าฯ ผู้ขออนุญาตต้องดำเนินการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน ยกเว้นสัตว์ที่นำติดตัวเข้ามายื่นคำขอขณะเข้ามาก็ได้และควรจะติดต่อด้วยตนเอง โดยยื่นคำร้องเป็นหนังสือตามแบบที่กรมปศุสัตว์กำหนด พร้อมแนบสำเนาหลักฐานบัตรประจำตัวมาด้วยทุกครั้ง ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่สามารถมาติดต่อด้วยตนเองได้ ให้มีหนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาหลักฐานบัตรประจำตัว ผู้มอบอำนาจแนบมาด้วยทุกครั้ง

4.กรมปศุสัตว์จะตรวจสอบสภาวะโรคของประเทศต้นทางจนมั่นใจว่าปลอดภัยจริง จึงออกหนังสืออนุมัติในหลักการ อนุญาตนำสัตว์เข้าราชอาณาจักรฉบับภาษาอังกฤษ (Import Permit) พร้อมกำหนดเงื่อนไข (Requirement) การนำเข้าของสัตว์นั้น

5.ผู้ขออนุญาตเมื่อได้รับเอกสารหนังสืออนุมัติในหลักการอนุญาตนำเข้า ฉบับภาษาอังกฤษ (Import Permit) ของกรมปศุสัตว์แล้วให้นำส่งไปยังประเทศต้นทางทันที เพื่อประเทศต้นทางจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไข (Requirement) ที่กรมปศุสัตว์กำหนด (เงื่อนไขประกอบการนำสัตว์เข้าประเทศของกรมปศุสัตว์ จะปรับปรุงสม่ำเสมอ เพื่อให้เป็นปัจจุบัน และป้องกันมิให้โรคระบาดสัตว์ ทุกชนิดจากต่างประเทศเข้ามายังประเทศไทย)

6.ผู้ขออนุญาตต้องแจ้งยืนยันการนำเข้าต่อยืนยันการนำเข้าต่อเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ ณ ด่านกักกันสัตว์ระหว่างประเทศประจำท่าเข้านั้นเกี่ยวกับ วัน เวลา ที่นำเข้าและเที่ยวบิน เที่ยวเรือ หรือเที่ยวขบวนรถไฟหรือทะเบียนยานพาหนะที่ใช้บรรทุกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน ก่อนสัตว์เดินทางมาถึงเพื่อสัตวแพทย์ควบคุมรถบรรทุกสัตว์ไปยังสถานกักกันสัตว์ที่กรมปศุสัตว์กำหนด และออกเอกสารใบแจ้ง อนุมัตินำเข้า (ร.6) ให้ผู้ขออนุญาตนำไปติดต่อ ดำเนินการทางพิธีศุลกากรที่ด่านศุลกากรประจำท่าเข้านั้น

7.สัตว์ที่นำเข้าต้องมีเอกสารหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ (Health Certificate) เป็นภาษาอังกฤษ ออกให้โดยสัตวแพทย์รัฐบาลผู้มีอำนาจเต็มจากประเทศต้นทาง ถ้าเอกสารรับรองเป็นภาษาอื่น ให้แปลเป็นภาษาอังกฤษ และรับรองโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลประเทศต้นทาง หรือเจ้าหน้าที่สถานฑูตประเทศต้นทาง ประจำประเทศไทย หนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ต้องตรงตามเงื่อนไขการนำเข้าที่กรมปศุสัตว์กำหนดทุกประการ ถ้ามีหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ไม่ตรงตาม เงื่อนไขที่กรมปศุสัตว์กำหนด สัตว์นั้นจะไม่อนุญาตให้นำเข้าประเทศไทย

8.สัตว์ที่นำเข้ามาทำพันธุ์ ต้องมีเอกสารหนังสือรับรองพันธุ์ประวัติ (Pedigree) แนบมาด้วยทุกครั้ง

9.ผู้เข้าต้องเตรียมสำเนาเอกสารแสดงราคาสัตว์ มอบให้เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ทุกครั้งที่นำเข้าราชอาณาจักร

การดำเนินการช่วงนำเข้า

1.ผู้นำสัตว์เข้าราชอาณาจักรที่มิใช่สัตว์พันธุ์ หรือเป็นสัตว์พันธุ์แต่ไม่มีหนังสือรับรองพันธุ์ประวัติสัตว์นำเข้าฯ ประกอบมา ผู้นำเข้าต้องเสียค่าธรรมเนียมนำเข้าราชอาณาจักรที่กำหนดในกฏกระทรวงฯ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2542

2.เมื่อเจ้าหน้าที่สัตว์แพทย์ตรวจสอบเอกสารครบถ้วนแล้ว จะแจ้งให้ผู้ขออนุญาตนำเข้า นำสัตว์ไปกักตรวจ ณ สถานกักกันสัตว์ที่กำหนด

การดำเนินการหลังการนำเข้า

1.สัตว์จะถูกนำไปกักกันดูอาการ ณ สถานกักกันสัตว์ที่กรมปศุสัตว์กำหนด ในระยะเวลาที่นักวิชาการสัตวแพทย์จะพิจารณา เพื่อให้นักวิชาการสัตวแพทย์ เก็บตัวอย่างต่าง ๆ จากสัตว์ไปตรวจทางห้องปฏิบัติการว่าปลอดโรค และผ่านพ้นระยะเวลาการกักกันแล้ว จึงจะอนุญาตเคลื่อนย้าย ออกจากสถานกักกันสัตว์ได้ โดยเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์จะออกใบอนุญาตนำเข้า (ร. 7) มอบให้ผู้นำเข้าไว้เป็นหลักฐาน

2.ในกรณีสัตว์ป่วย สัตว์ตาย ขณะเดินทางมาถึง หรือระหว่างกักกันดูอาการ ณ สถานกักกันสัตว์ เจ้าของสัตว์ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ กรมปศุสัตว์ทันที เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ดำเนินการช่วยเหลือ ให้คำแนะนำและ เก็บตัวอย่างส่งห้องปฏิบัติการ เพื่อชันสูตรโรคต่อไป