แนะนำเกษตรกรป้องกันโรคในไก่พื้นเมือง

 

         นายสัตวแพทย์วีรชัย   วิโรจน์แสงอรุณ  ปศุสัตว์จังหวัดสงขลา  แนะนำเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง  ไก่ชน  และไก่พื้นเมือง  ให้เฝ้าระวังดูแลสุขภาพสัตว์ปีกของตนเองอย่างใกล้ชิดในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงนี้้ พร้อมสั่งการให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ ติดตามและตรวจเยี่ยมเกษตรกรอย่างใกล้ชิด  โดยหากพบสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติมีอาการคล้ายโรคไข้หวัดนก  จะทําลายสัตว์ปีกดังกล่าวทันทีแล้วค้นหาโรคเพิ่มเติมในรัศมี  10  กิโลเมตร  โดยการเข้าสอบถามเกษตรกร(เคาะประตู)พร้อมทั้งทําความสะอาดและฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครัวเรือนที่เลี้ยงสัตว์ปีก  และให้ความรู้แก่เกษตรกรและประชาชนในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคที่ถูกต้อง  รวมทั้งขอความร่วมมือเกษตรกรงดเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก จนกว่าไม่มีสัตว์ปีกป่วยตายเพิ่มเติม

          ด้วยปัจจุบันเป็นช่วงสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย  ส่งผลให้สัตว์ปีกที่ปล่อยหากินตามธรรมชาติเกิดความเครียด   ภูมิคุ้มกันโรคในตัวลดลง  อาจป่วยเป็นโรคระบาดไดโดยเฉพาะเป็ดไล่ทุ่ง  ขอให้เกษตรกรเลี้ยงเป็ดให้ห่างจากถิ่นที่อยู่อาศัยของนกอพยพและนกธรรมชาติ  บริเวณที่นอนของเป็ดควรหาวัสดุปูรองพื้นให้มีความอบอุ่น  สามารถป้องกันลมหนาวได หากพบเป็ดป่วยตายให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตวหรือเจ้าหน้าที่ อบต.ทันที   และให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาเชื้อโรค สําหรับไก่ชนขอให้ผู้เลี้ยงให้ความสําคัญต่อการไม่นำไก่ที่นำไปชนหรือไก่ที่หามาใหม่เข้ามาเลี้ยงร่วมกับฝูงไก่ที่เลี้ยงอยู่เดิม  ขอให้เลี้ยงไว้ในสุ่มไก่หรือเล้าไก่ที่แยกห่างจากไก่ตัวอื่นเป็นเวลาอย่างน้อย 7วัน   อธิบดีกรมปศุสัตวกล่าวเพิ่มเติมว่า   สัตว์ปีกที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดที่สําคัญอีกชนิดหนึ่งคือ  ไก่พื้นเมืองซึ่งมีประเด็นที่ขอความร่วมมือเกษตรกร  คือ จัดทำเล้าหรือมีการล้อมบริเวณที่นอนด้วยตาข่ายหรือมุ้งเขียว  ที่สามารถป้องกันนกธรรมชาติ  ลมและฝนได้  ซึ่งจะส่งผลให้ไก่พื้นเมืองมี ความแข็งแรงทนทานต่อโรค   อย่างไรก็ตาม  การไม่นำสัตว์ปีกเคลื่อนย้ายไปในที่ต่างๆ   จะเป็นวิธีป้องกันการแพร่กระจายของโรคระบาดได้ดีที่สุด ซึ่งหากจําเป็นต้องเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก ขอให้เกษตรกรแจ้งปศุสัตว์อําเภอเพื่อตรวจสุขภาพสัตวและขออนุญาตเคลื่อนย้ายตามกฎหมายก่อน  และทําวัคซีนป้องกันโรคที่จําเป็นในสัตว์ปีก  ตามที่สัตวแพทย์แนะนําอย่างต่อเนื่อง